วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559
การทำกระเป๋าจากไม้ไผ่สาน
การทำกระเป๋าจากไม้ไผ่สาน
การออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าสตรีมีหลักการออกแบบตามสมัยนิยม ซึ่งออกแบบตามลักษณะการใช้งาน เช่น แบบสะพาย แบบหูหิ้ว
วัสดุ
1. ไม้ตอกจากไม้ไผ่ไร่
2. โครงเหล็กสำหรับทำกระเป๋าแบบต่าง ๆ
3. ผ้าบุรองกระเป๋าด้านใน
4. กาวลาเทค
5. กระดาษชาร์ทแข็ง
6. กรรไกร
7. กาวแลคเกอร์
วิธีทำ
1. นำไม้ไผ่มาจักตอกและรีดตอกให้เป็นเส้นบาง เพื่อใช้สานกระเป๋า
2. นำตอกที่ได้ไปรมควันไฟให้เกิดเป็นสีต่าง ๆ คือ สีดำ น้ำตาล เหลือง เมื่อนำมาสานจะทำให้เกิดลวดลายตามสี
ของตอกไม้ไผ่
3. ตอกไม้ไผ่ที่ได้นำมาสานลวดลายตามต้องการ
4. นำไม้ไผ่ที่สานแล้วมาตัดตามแบบที่ต้องการ ตัดผ้ากาวตามแบบและอัดผ้ากาวติดกับไม้แผ่นที่สาน
5. ทำการขึ้นแบบตามโครงกระเป๋า และเย็บตามแบบกระเป๋าทาแลกเกอร์เพื่อความคงทนและเงางาม ทิ้งไว้ให้แห้ง
พร้อมติดอุปกรณ์ตกแต่งเพื่อความสวยงาม
การดูแลรักษากระเป๋าให้ใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาด ๆ เช็ดฝุ่น หรือคราบสกปรกต่าง ๆ แล้วผึ่งลมให้แห้ง ห้ามนำไปตากแดด เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มมูลค่า สำหรับเครื่องใช้หรือเครื่องประดับ เป็นการสร้างรายได้ให้คนในชุมชน และเป็นแหล่งเรียนรู้
การจักตอก
การจักตอกไม้ไผ่
1.
การจักตอกปื้น
แบ่งไม้ไผ่ออกเป็นชิ้นๆตามขนาดที่ต้องการ ใช้มีดจักตอกเอาส่วนในออก (ขี้ตอก)จักในส่วนที่เหลือออกเป็นเส้นบางๆ
แล้วหลาวให้เรียบร้อยตากแดดให้แห้ง
2.
การจักตอกตะแคง ใช้วิธีเดียวกันกับการจักตอกปื้นเบื้องต้น
แต่การจักให้เป็นเส้นตอกจะทำการจักทางผิวเป็นเส้นเล็กกว่าตอกปื้น ทำการหลาวให้เรียบร้อย
แล้วนำออกตาก
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์
การพัฒนาเว็บเพจเพื่อการศึกษา เรื่องกระเป๋าสตรีสานลายจากไม้ไผ่นี้ผู้จัดทำได้ศึกษาเอกสานที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
การจักสานไม้ไผ่
การจักสานไม้ไผ่คือ หัตถกรรมเครื่องจักสานที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนที่สำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่สามารถใช้ภูมิปัญญานำสิ่งที่มีอยู่ในภายชุมชนมาประยุกต์ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันซึ่งมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
จะเห็นได้ว่าหัตถกรรมเครื่องจักสานมีมานานแล้วและได้มีการพัฒนามาตลอดเวลาโดยอาศัยการถ่ายทอดความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง
การดำรงชีวิตประจำวันของชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ได้นำความรู้ในหนังสือมาเกี่ยวข้อง
การเรียนรู้ต่างๆจะอาศัยวิธีการฝึกหัดและการบอกเล่าซึ่งไม่เป็นระบบ ความรู้ที่สะสมจะสืบทอดกันมาจากอดีตมาถึงปัจจุบัน
ไม้ไผ่ที่นำมาจักสาน
ไม้ไผ่ส่วนใหญ่ที่นำมาใช้ทำเครื่องจักสานนั้นจะนิยมใช้ไม้ไผ่สีสุกหรือไผ่สีสุกมีชื่อวิทยาศาสตร์Bambusa blumeana เป็นพืชในวงศ์หญ้า
(Poaceae) กระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เป็นไผ่ลำต้นสูง 10-18 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 8-12 ซม. ลำแข็ง ผิวเรียบเป็นมัน
ข้อไม่พองออก มีกิ่งมากแตกตั้งฉากกับลำต้น หนามโค้งออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 อัน
อันกลางยาวกว่า ลำมีรูเล็กเนื้อหนา ใบมีจำนวน 5-6 ใบ ที่ปลายกิ่ง ปลายใบเรียวแหลม
โคนเป็นรูปลิ่มกว้าง หรือตัดตรง แผ่นใบกว้าง 0.8-2 ซม. ยาว 10-20 ซม.
ใต้ใบมีสีเขียวอมเหลือง เส้นลายใบมี 5-9 คู่ ก้านใบสั้น ขอบใบสาก ครีบใบเล็กมีขน
ดอกเป็นช่อ ส่วนมากอายุราว 30 ปีจะออกดอกหนึ่งครั้ง หน่อมีขนาดใหญ่ มีกาบสีเหลืองห่อหุ้ม
ขนที่หน่อเป็นสีน้ำตาลไผ่สีสุกเป็นไม้มงคลนามในอดีตนิยมปลูกไว้เป็นรั้ว นอกจากหน่อไม้ที่รับประทานได้แล้วใบไผ่สีสุกยังใช้เป็นยาขับฟอกโลหิตระดูตาของลำไผ่สุมไฟเป็นถ่านกินแก้ร้อนในกระหายน้ำ
รากมีรสกร่อยเฝื่อนเล็กน้อย ใช้เป็นยาขับปัสสาวะและขับระดูได้
ลำของไผ่สีสุกมีความเหนียวทนทานใช้ทำเครื่องจักสาน เครื่องเรือนและนั่งร้าน
ที่มาของกระเป๋าสตรีสานลายจากไม้ไผ่
ในปัจจุบันสังคมในชุมชนส่วนมากจะปลูกต้นไม้ไผ่เป็นจำนวนมาก ภายในชุมชนของข้าพเจ้ามีการทำจักสานไม้ไผ่ โดยการสานสุ่มไก่ ชะลอมจับปลา เป็นต้น ซึ่งเป็นภูมิปัญญาตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน ข้าพเจ้าจึงได้แนวคิดมาจากการใช้กระเป๋าเพื่อใส่ของเล็กๆ เครื่องสำอาง เป็นต้น ข้าพเจ้าจึงเกิดแนวคิดในการเพิ่มมูลค่าของไม้ไผ่ โดยการนำไม้ไผ่มาจักสานเป็นเส้นบางๆ แล้วมาย้อมสีเพื่อเพิ่มสีสันของงาน ข้าพเจ้าคิดถึงกระเป๋าของคุณหญิงคุณนายที่ใช่ในการออกงาน เหมาะกับการใช้กระเป๋าประเภทนี้เป็นอย่างยิ่ง กระเป๋าใบนี้จะสามารถเปิดปากและปิดปากด้วยโครงเหล็กแบบเปิดปิดได้ภายในตัว เวลาจะใส่ของข้างในก็จะไม่สามารถหล่นออกมาได้ ทำให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ภายข้างในกระเป๋าจะบุด้วยพลาสติกและผ้าไหมไว้อย่างแข็งแรงและสวยงามของชนิดผ้า ซึ่งมีน้ำหนักเบา สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญา เพิ่มมูลค่า สำหรับเครื่องใช้เครื่องประดับ เป็นการสร้างรายได้ระหว่างเรียนและคนในชุมชนอีกด้วย ดังนั้นข้าพเจ้าจึงได้จัดทำโครงงานเรื่องกระเป๋าสตรีสานลายจากไม้ไผ่ โดยสร้างเว็บเพจในการเผยแพร่ เพราะปัจจุบันคนทั่วไป คนวัยทำงานและนักเรียนนักศึกษาได้ค้นคว้าหาความรู้จากอินเทอร์เน็ตกันมากขึ้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)